trang web cá cược trực tuyến hay nhất

top of page

(บทความที่ 1)

ทำความรู้จักกับ อาชีพทนายความ 

          ทนายความ  Lawyers  ผู้ที่มีบุคลิกภาพแบบกล้าคิดกล้าทำ (Enterprising) ปฏิบัติงาน ทำงาน เกี่ยวกับกฎหมาย ให้คำปรึกษาทางกฎหมาย และให้บริการทางกฎหมายอื่นๆ รวมถึงการปฏิบัติงานทั่วๆ ไปเกี่ยวกับกฎหมาย เช่น การให้คำปรึกษาทางกฎหมาย การจัดทำเอกสารเกี่ยวกับกฎหมาย การว่าความคดีอาญา และคดีแพ่ง ให้คำแนะนำแก่ลูกความเกี่ยวกับปัญหาบุคคล และธุรกิจในแง่ของกฎหมาย และทำแทนลูกความในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวกับกฎหมาย ดำเนินการฟ้องผู้ต้องหาต่อศาลในนามของเจ้าหน้าที่ฝ่ายบ้านเมือง ทนายความเป็นอาชีพหนึ่งของนักกฎหมาย ที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของกระบวนการยุติธรรมอันประกอบด้วย ศาล อัยการ ตำรวจ และราชทัณฑ์

ลักษณะของงานที่ทำ

  • ปฏิบัติงานทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย เช่น ให้คำปรึกษาทางกฎหมาย จัดทำเอกสารเกี่ยวกับกฎหมาย

  • ทำหน้าที่เป็นตัวแทนในเรื่องที่เกี่ยวกับกฎหมาย และดำเนินการแทนคู่ความทั้งทางอาญา และแพ่ง

  • ตรวจสอบเรื่องราวต่างๆ และค้นตัวบทกฎหมายที่จะนำมาใช้โดยการศึกษาประมวลกฎหมาย พระราชกฤษฎีกา  เทศบัญญัติ คำพิพากษาของศาลสูงที่มีมาแล้ว และกฎข้อ-บังคับที่ตราขึ้นไว้

  • ให้คำแนะนำแก่ลูกความถึงสิทธิ และหน้าที่ตามกฎหมายทำการแทนลูกความในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวกับกฎหมาย จัดทำเอกสารเกี่ยวกับกฎหมาย และค้นหาข้อกฎหมายในประมวลกฎหมาย

  • ว่าความ และดำเนินกระบวนการพิจารณาใดๆ ในศาลแทนคู่ความทั้งในคดีแพ่ง และคดีอาญา มีบทบาทในการสร้าง และรักษาความเป็นธรรมให้กับสังคม มีบทบาทในการคุ้มครอง ดูแลรักษาผลประโยชน์ของบุคคล และองค์กรธุรกิจเอกชนต่าง ๆ

  • มีบทบาทในการให้คำปรึกษาแนะนำ ในการดำเนินการต่างๆ ให้ถูกต้องตามระเบียบ และกฎหมาย

  • มีบทบาทเป็นคนกลางเพื่อไกล่เกลี่ยความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ด้วย อาจเชี่ยวชาญในงานกฎหมายสาขาใดสาขาหนึ่งโดยเฉพาะ

  • เป็นทนายความ หรือที่ปรึกษากฎหมายประจำองค์กร บรรษัท ห้างหุ้นส่วน บริษัท นิติบุคคล คณะบุคคล หรือเอกชน

 

สภาพการจ้างงาน

          อาชีพทนายความเป็นอาชีพที่มีคนนิยมทำกันมาก เพราะเป็นอาชีพที่สามารถทำรายได้ดี และเป็นอาชีพที่มีเกียรติ โดยผู้ที่เป็นทนายความสามารถทำงานมีเงินเดือนประจำ โดยมีค่าตอบแทนเป็นเงินเดือนตั้งแต่ 10,000 - 15,000 บาทขึ้นไป ขึ้นอยู่กับความสามารถประสบการณ์ และประเภทของหน่วยงานที่ทำงาน หรือประกอบอาชีพทนายความอิสระรับว่าความทั่วไป โดยอาจได้รับค่าตอบแทนจากการว่าความ ร้อยละ 10 - 20 ของทุนทรัพย์ในคดีนั้นๆ หรืออาจจะได้รับค่าตอบแทนตามแต่จะตกลงกับลูกความ ซึ่งอาจจะได้รับค่าว่าความ 20,000-100,000 บาทขึ้นไปแล้วแต่งานที่รับ และขนาดของทุน-ทรัพย์ในแต่ละคดี

สภาพการทำงาน

          ทำงานในสำนักงานที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกสบาย  โดยสำนักงานทั่วไปมีอุปกรณ์ช่วยในการจัดการงานเอกสาร เช่น เครื่องพิมพ์ดีด หรือคอมพิวเตอร์ บางครั้งต้องออกไปติดต่อประสานงานนอกสำนักงาน เช่น ศาล สถานีตำรวจ สถานที่อื่นๆ เพื่อปฏิบัติภาระกิจทนายความตามที่ได้รับมอบหมาย ส่วนใหญ่ทำงานสัปดาห์ละ 40 ชั่วโมง แต่การทำงานล่วงเวลาเป็นเรื่องปกติในอาชีพนี้ อาจจะต้องมาทำงานในวันเสาร์ วันอาทิตย์ และวันหยุด

การทำงานของทนายความ เป็นงานที่ต้องมีผู้ได้ประโยชน์  และผู้เสียประโยชน์  อาชีพทนายความเป็นอาชีพที่ค่อนข้างเสี่ยงอันตรายอันเนื่องมาจากลักษณะงาน  การฟ้องร้องระหว่างคู่คดีอาจสร้างความไม่พอใจให้อีกฝ่าย  หรืองานในหน้าที่อาจจะทำให้ผู้อื่นเสียผลประโยชน์  ทำให้เกิดความโกรธแค้น และอาจถึงขั้นทำร้ายร่างกายและชีวิตได้  ผู้เป็นทนายความควรที่จะจัดให้เกิดความยุติธรรมทั้งสองฝ่าย  มีความซื่อสัตย์สุจริตในหน้าที่ไม่ใช้ความรู้ในอาชีพเอาเปรียบหรือทำให้ผู้อื่นเสียหาย

คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ

          ผู้สนใจจะประกอบอาชีพนี้จะต้องเป็นผู้ที่มีใจรักในอาชีพนี้เป็นพื้นฐานเพราะงานว่าความเป็นงานที่ต้องมีความเสียสละ ทุ่มเท  ใฝ่หาความรู้และมีวาทศิลป์  ผู้ที่ประสงค์จะประกอบอาชีพทนายความจะต้องมี คุณสมบัติดังต่อไปนี้

1. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านนิติศาสตร์

2. ต้องขอจดทะเบียน และรับใบอนุญาตเป็นทนายความจากสภาทนายความ

3. มีสัญชาติไทย

4. อายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์ ในวันที่ยื่นคำขอจดทะเบียน และรับในอนุญาต

5. ไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียบกพร่องในศิลธรรมอันดี และไม่เป็นผู้ได้กระทำการใด ซึ่งแสดงให้เห็นว่าไม่น่า ไว้วางใจในความซื่อสัตย์สุจริต

6. ไม่อยู่ในระหว่างต้องโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก

7 ไม่เคยต้องโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก ในคดีที่คณะกรรมการเห็นว่าจะ นำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติ ศักดิ์แห่งวิชาชีพ

8. ไม่เป็นบุคคลผู้ต้องพิพากษาถึงที่สุดให้ล้มละลาย

9. ไม่เป็นโรคติดต่อซึ่งเป็นที่รังเกียจของสังคม

10. ไม่เป็นผู้มีกายพิการ หรือจิตบกพร่องอันเป็นเหตุให้เป็นผู้หย่อนสมรรถภาพในการประกอบอาชีพ

11. ไม่เป็นข้าราชการ หรือพนักงานส่วนท้องถิ่น ซึ่งมีเงินเดือน และตำแหน่งประจำเว้นแต่ ข้าราชการการเมือง

12. ต้องซื่อตรงต่อลูกความ ผู้ร่วมงานอำนวยการความยุติธรรม ชุมชน ผู้ร่วมสำนักงาน และตนเอง

ผู้ที่สนใจประกอบอาชีพทนายความ 

          ควรเตรียมความพร้อมดังต่อไปนี้ : มีความสนใจในด้านกฎหมาย กระบวนการยุติธรรม และต้องชอบที่จะท่องจำเพราะวิชานิติศาสตร์เป็นการเรียนที่ต้องท่องจำมาก เช่น กฎระเบียบ มาตราของกฎหมายต่างๆ เป็นต้น

ผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า ต้องสอบเข้ารับการคัดเลือก หรือเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาคณะนิติศาสตร์ หลักสูตร 4 ปี สำเร็จการศึกษาได้รับปริญญาตรีทางนิติศาสตร์ หรือประกาศนียบัตรในวิชานิติศาสตร์ ซึ่งเทียบได้ไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี จากสถาบันการศึกษาซึ่งสภาทนายความเห็นว่าสถาบันนั้นมีมาตรฐานการศึกษาที่ผู้ได้รับปริญญาตรี หรือประกาศนียบัตรควรเป็นทนายความได้ และเป็นสมาชิกแห่งเนติบัณฑิตยสภา

          เมื่อสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี หรือเทียบเท่า  ต้องเข้ารับการฝึกอบรมกับสำนักฝึกอบรมวิชาว่าความ แห่งสภาทนายความ ซึ่งมีให้เลือกด้วยกันสองประเภท

          1. การฝึกอบรมประเภทตั๋วปี ผู้สมัครต้องฝึกงานในสำนักงานทนายความ ครบ 1 ปี  แล้วไปลงทะเบียนสอบ ทั้งนี้ผู้สมัครต้องแจ้งต่อสำนักฝึกอบรมวิชาว่าความก่อนที่จะฝึกว่าจะฝึกที่สำนักงานใด ถ้าสอบผ่านแล้ว ก็จะมีการสอบสัมภาษณ์  ถ้าสอบผ่านและได้รับการอบรมจริยธรรมและมารยาททนายความ  แล้วก็สามารถยื่นขอจดทะเบียนรับใบอนุญาตให้เป็นทนายความกับสภาทนายความได้

          2. การฝึกอบรมประเภทตั๋วรุ่น  ผู้สมัครต้องสมัครอบรมวิชาว่าความกับสำนักฝึกอบรมวิชาว่าความ  ซึ่งสำนักอบรมจะเปิดเป็นรุ่นๆไป รายละเอียดติดตามได้ที่ สภาทนายความ  ซึ่งช่วงแรกจะเป็นการอบรมภาคทฤษฎี 6 เดือน ถ้าสอบผ่านภาคทฤษฎี ก็จะได้ฝึกภาคปฏิบัติ อีก 6 เดือน  โดยฝึกกับสำนักงานทนายความที่เราแจ้งเอาไว้  หรือจะให้ทางสำนักอบรมหาสำนักงานทนายความให้ก็ได้ ถ้าสอบภาคปฏิบัติผ่าน  ก็จะต้องสอบสัมภาษณ์ ถ้าสอบผ่านและได้รับการอบรมจริยธรรมและมารยาททนายความ  แล้วก็สามารถยื่นขอจดทะเบียนรับใบอนุญาตให้เป็นทนายความกับสภาทนายความได้

          โดยทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นประเภทตั๋วปี หรือประเภทตั๋วรุ่นนั้น  เมื่อสอบผ่านและได้จดทะเบียนรับใบอนุญาตให้เป็นทนายความแล้วล้วนแต่มีศักดิ์และสิทธิของการเป็นทนายความเท่าเทียมกันทุกประการ

โอกาสในการมีงานทำ

          อาชีพทนายความ ถือเป็นอาชีพที่สำคัญอีกอาชีพหนึ่ง ซึ่งจะมาเกี่ยวข้องกับธุรกิจและบุคคล  เพราะอาชีพนี้จะมีความชำนาญทางกฎหมาย ความต้องการของอาชีพนี้มีสูงขึ้นเรื่อยๆ  โดยดูได้จากคดีที่เกิดขึ้นที่กรมตำรวจ  ล้วนแต่ต้องใช้ทนายความเข้ามาช่วยในคดีทั้งสิ้นในช่วงภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ทนายความมีคดีว่าความมากขึ้นเนื่องจากจะมีคดีฟ้องร้องในเรื่องการค้างชำระหนี้มากขึ้นแต่รายได้จาก การว่าความจะไม่ค่อยมากนักเนื่องจากฝ่ายจำเลยไม่สามารถชำระค่าเสียหายได้ จะเห็นได้ว่าไม่ว่าจะอยู่ในภาวะเศรษฐกิจอย่างไร ความต้องการแรงงานในอาชีพมีอยู่ตลอด ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับความชำนาญความเก่ง และชื่อเสียงของทนายความแต่ละคนด้วย นอกจากนี้ทนายความอิสระบางคนอาจจะรับทำงานสืบสวนให้บุคคลที่ต้องการให้สืบสวนหรือติดตามสิ่งของ หรือบุคคลที่ต้องการค้นหา

โอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ

          อาชีพทนายความนี้ นอกจากจะประกอบอาชีพเป็นทนายความแล้วยังสามารถเป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ของหน่วยงาน  เป็นที่ปรึกษาทางกฎหมายของหน่วยงาน  เป็นพนักงานอัยการ  และก้าวไปสู่การเป็นผู้พิพากษาก็ได้ และนอกจากนี้อาชีพทนายความเป็นอาชีพที่มีความชำนาญทางกฎหมายเป็นพิเศษ  จึงเป็นอาชีพหนึ่งที่สามารถนำความรู้ไปปรับใช้กับอาชีพอื่นได้มากมาย เช่น นักการเมือง ทหารตำรวจ เจ้าหน้าที่เร่งรัดหนี้สิน เจ้าหน้าที่การเงิน หรือครู อาจารย์ เป็นต้น  

          ทนายความที่มีความสามารถ และมีความรู้ทางกฎหมายระหว่างประเทศอย่างดี อาจได้รับการว่าจ้างให้เป็นทนายความว่าความในต่างประเทศ หรืออาจเป็นตัวแทนของรัฐบาลในการเจรจาทางด้านกฎหมาย หรือสิทธิประโยชน์ของประเทศ

อาชีพที่เกี่ยวเนื่อง

          ผู้พิพากษา อัยการ ตำรวจ ทหาร เจ้าหน้าสินเชื่อ เจ้าหน้าเร่งรัดหนี้ นักสืบ

         ; อย่างไรก็ตาม การทำงาน ไม่ว่าจะเป็นอาชีพไหน หน้าที่ไหน แผนกไหน ตำแหน่งไหน คนที่ทำงานแล้วประสบความสำเร็จไม่ได้มีอะไรพิเศษกว่าคนอื่น แต่อาศัยว่าเป็นคนที่ใฝ่หาความรู้ และขยันสร้างความชำนาญ สร้างทักษะใหม่ ๆ ให้ตัวเอง ก็สามารถประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน

bottom of page
trang cá cược xổ số  cá cược xổ số trực tuyến  baccarat live baccarat online gambling baccarat poker game online