trang web cá cược trực tuyến hay nhất

top of page

(บทความที่ 24)

การจัดสรรปันส่วนแบ่งมรดก

                 

                  เมื่อบุคคลใดถึงแก่ความตายจะต้องพิจารณาว่าผู้ตายมีคู่สมรสหรือไม่  หากมีคู่สมรสที่ชอบด้วยกฎหมายจะต้องแบ่งสินสมรสคนละส่วนกัน  และต้องพิจารณาก่อนว่าเจ้ามรดกมีการทำพินัยกรรมไว้หรือไม่  หรือหากทำพินัยกรรมมีผลเช่นไร  หากมีการทำพินัยกรรมหรือพินัยกรรมมีผลบังคับแต่เพียงบางส่วน  การแบ่งมรดกจะต้องเป็นไปตามพินัยกรรมที่เจ้ามรดกทำไว้  ถ้าไม่ได้ทำพินัยกรรมหรือพินัยกรรมในส่วนที่ไม่มีผลบังคับ  กองมรดกของผู้ตายย่อมตกทอดแก่ทายาท  โดยจะต้องพิจารณาต่อไปว่า มรดกตกทอดแก่ทายาทผู้ใด
โดยทายาทโดยธรรมมีทั้งหมด  6 ลำดับเท่านั้นที่จะมีสิทธิ์ได้รับมรดก  ก่อนหลังดังต่อไปนี้
               (1) ผู้สืบสันดาน ก็คือ ลูก หรือ หลาน
               (2) บิดามารดา
               (3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
               (4) พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน
               (5) ปู่ ย่า ตา ยาย
               (6) ลุง ป้า น้า อา
                 โดยลำดับชั้นของการรับมรดกนั้นจะเรียงไปตามลำดับก่อนหลัง  หากทายาทลำดับที่ (1) ยังมีชีวิตอยู่  ทายาทในลำดับถัดไปก็ไม่มีสิทธิได้รับมรดก  แต่ก็มีข้อยกเว้นว่าทายาทลำดับที่ (1) ยังมีชีวิตอยู่  และบิดามารดาของผู้ตายก็ยังมีชีวิตอยู่ ทายาทลำดับที่ (2) บิดามารดาของผู้ตายนั้นจะได้รับส่วนแบ่งมรดกเหมือนทายาทชั้นบุตร  คือ ชั้นผู้สืบสันดานในฐานะเท่ากับลูกของผู้ตาย  ให้แบ่งมรดกเท่า ๆ กัน เพราะกฎหมายถือว่าเป็นญาติในลำดับที่สนิทที่สุด
                 ส่วนคู่สมรสที่ได้จดทะเบียนโดยชอบตามกฎหมาย ให้แบ่งสินสมรสให้กับคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ครึ่งหนึ่งก่อน  แล้วทรัพย์มรดกส่วนที่เหลือจึงจะแบ่งให้แก่ทายาท กล่าวคือ นอกจากคู่สมรสจะแบ่งสินสมรสมาครึ่งหนึ่งแล้ว ก็ยังมีสิทธิ์ได้รับมรดกของผู้ตายส่วนที่เหลืออีกด้วย  ซึ่งไม่ว่าจะมีทายาทลำดับใดมีชีวิตอยู่  คู่สมรสจะได้รับส่วนแบ่งเสมอจะมากน้อยตามที่กฎหมายกำหนด
                ฉะนั้น เมื่อเจ้ามรดกทำพินัยกรรมไว้เรียบร้อยย่อมไม่มีปัญหามากหนัก  แต่ถ้าไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ย่อมกลายเป็นเรื่องที่ยุ่งยากอยู่พอสมควร  หากกรณีที่ผู้ตายซึ่งเป็นเจ้ามรดกมีสามีหรือภรรยาที่จดทะเบียนสมรสกันถูกต้อง  ฝ่ายที่ยังมีชีวิตอยู่มีสิทธิที่จะได้รับทรัพย์สินครึ่งหนึ่งจากมรดกส่วนที่เป็นสินสมรสก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1625  ส่วนสินสมรสที่เหลืออีกครึ่งหนึ่งก็จะตกเป็นมรดกของทายาท  ดังนั้น  คู่สมรสจึงมีสิทธิได้รับมรดกอีกครั้งหนึ่งในฐานะทายาทร่วมกับทายาทโดยธรรมผู้ตายที่ยังมีชีวิตอยู่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา 1629, 1635 (1)
                  ตัวอย่างเช่น นาย ก และนาง ข เป็นสามีภรรยาตามกฎหมาย และมีทรัพย์สินรวมกัน 1,000,000 บาท มีบุตรด้วยกัน 1 คน และมีบิดามารดาของนาย ก ยังมีชีวิตอยู่ด้วย ต่อมานาย ก เสียชีวิต  เบื้องต้นทรัพย์สินจำนวน 1,000,000 บาท นาง ข จะได้รับเงินจำนวน 500,000 บาท  ไปก่อนซึ่งถือเป็นเงินสินสมรส  ส่วนที่เหลืออีก 500,000 ก็ตกเป็นมรดกของทายาทนาย ก ตามลำดับ  ประกอบด้วยบุตร บิดามารดา ที่ยังมีชีวิต และนาง ข ภรรยาอีกด้วย  โดยจะได้ส่วนแบ่งในอัตราสัดส่วน  เท่าๆ กัน คือคนละ 125,000 บาท ขณะที่นาง ข ภรรยาจะได้เงินรวมทั้งสิ้น 625,000 บาท

bottom of page
trang cá cược xổ số  cá cược xổ số trực tuyến  baccarat live baccarat online gambling baccarat poker game online